วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558


ลิ้นจี่มีเงินเย็น

ลิ้นจี่ ผลไม้ประจำฤดูกาลนี้อีกชนิดนึงที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ด้วยรสชาติที่หวานหอม อร่อย ชื่นใจ เหมาะกับอากาศร้อนๆในช่วงนี้เป็นยิ่งนัก
ลิ้นจี่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Litchi Chinensis Sonn. วงศ์ Sapindaceae ต้นกำเนิดของลิ้นจี่ คือ ประเทศจีน มีประมาณ 30-40 พันธุ์ กวีเอกสมัยราชวงศ์ถังชื่อ ป๋ายจีอี้ เคยเขียนไว้ว่า “ถ้าลิ้นจี่ถูกเด็ดจากต้น 1 วัน เปลือกจะเปลี่ยนสี 2 วัน กลิ่นหอมก็จะเปลี่ยน 3 วัน รสชาติก็เปลี่ยนไป และหลังจาก 4-5 วัน ทั้งสี กลิ่น และรสก็จะเปลี่ยนไปหมดสิ้น” นอกจากนี้ ลิ้นจี่ยังถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจงอีกด้วย
ในลิ้นจี่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามิน บี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในหลอดเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงานช่วยระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

การแปรรูปลิ้นจี่

ลิ้นจี่นอกจากจะใช้รับประทานสดได้แล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีก ทั้งนี้ได้มีการแนะนำ จากแหล่งความรู้หลายแหล่งว่าลิ้นจี่สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น ลิ้นจี่กระป๋องหรือบรรจุ ขวดในน้ำเชื่อม เนื้อลิ้นจี่อบแห้ง น้ำลิ้นจี่ที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร นอกจากนี้ ยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายชนิดทั้งนี้ผลิตภัณฑ์และวิธีการแปรรูปที่แนะนำในที่นี้จะเป็นผลิตภัณฑ์และเทคนิคอย่างง่ายที่ สามารถทำได้ในครัวเรือน เพื่อเป็นแนวทางริเริ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็กในครัวเรือนหรือชุมชนได้
วัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์ในการแปรรูปอาจส่งผลต่อคุณภาพด้านสีของผลิตภัณฑ์ได้ ดังนั้นผู้แปรรูปควรเลือกใช้ อุปกรณ์งานครัวที่ทำจากเหล็กปลอดสนิม (stainless steel) หรือที่เรียกทั่วไปว่าเครื่องครัวสแเตนเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่จะต้องสัมผัสกับอาหาร เช่น หม้อ ทัพพี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
การแปรรูปผลิตภัณฑ์หลายชนิดจะมีการระเหยน้ำร่วมด้วย และมักมีการแนะนำให้ใช้ตู้อบลมร้อนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ แต่ถ้าทำในปริมาณน้อยและไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว ก็อาจใช้วิธีการตากแดดแทนได้ หรืออาจใช้ตู้ตากแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ก็ได้
ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะพบว่าในบางผลิตภัณฑ์มีการแนะนำให้ใช้สารเคมีต่างๆ ร่วมด้วย เช่น แคลเซียมคลอไรด์ กรดซิตริก กรดแอสคอร์บิก โพแทสเซียมเมตาไบซัลไฟต์ ฯลฯ สารเคมีเหล่านี้สามารถซื้อหา ได้จากร้านขายสารเคมีทั่วไป และสิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ สารเคมีเหล่านี้จะต้องไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคปนเปื้อนอยู่ และจะต้องไม่ใช้มากเกินกว่าที่แนะนำ มิเช่นนั้นแล้วอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ตลอดจนอาจทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
การปรุงรสของผลิตภัณฑ์จำพวกกวนนั้น ในที่นี้การปรุงรสจะใช้น้ำตาลและ กรดซิตริกหรือกรดมะนาวเป็นส่วนใหญ่ และบางตำรับอาจมีการปรุงรสด้วยเกลือ ชะเอม กะทิ แต่แท้จริงแล้วการปรุงแต่งรสชาติของผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะขึ้น กับรสชาติที่ผู้บริโภคชอบเป็นสำคัญ ดังนั้นในการแปรรูปท่านอาจจะทดลองทำการปรุงรสโดยใช้ส่วนผสมที่ให้รสชาติอื่นร่วมหรือแทนได้ ซึ่งอาจทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแล้ว โดยทั่วไปวิธีการแปรูปผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะเป็นดังนี้ คือ ลิ้นจี่บรรจุกระป๋องหรือบรรจุขวดในน้ำเชื่อม ลิ้นจี่อบแห้ง น้ำลิ้นจี่พร้อมดื่ม ฯลฯ
ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถทำได้ไม่ยากนัก โครงสร้างของตู้อาจทำจากไม้  ไม้ไผ่หรือเหล็กก็ได้ ขนาดของตู้ที่พอเหมาะต่อการตากอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน จะมีขนาดกว้างประมาณ 24 นิ้ว ยาว 36 นิ้ว ด้านหน้าตู้สูง 8 นิ้ว ด้านหลังตู้สูง 10 นิ้ว และควรจะมีขาตู้ด้านหน้าสูงประมาณ 8 นิ้ว และขาด้านหลังของตู้สูงประมาณ 9 นิ้ว ทั้งนี้เพื่อให้ตู้นี้มีความเอียงประมาณ 14 องศา ซึ่งจะช่วยให้รับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ ผนังตู้กรุด้วยลวดตาข่ายสีดำ เพื่อให้สามารถระบายอากาศ และดูดพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดียิ่งขึ้น ผนังด้านหลังทำเป็นลักษณะบานประตูเพื่อให้ปิดเปิดได้ ภายในตู้มีตะแกรง 2 ชั้นสำหรับวางอาหารที่จะตาก และตะแกรงนี้สามารถถอดเข้าออกได้
คุณค่าทางอาหารของลิ้นจี่
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมหวานชวนกิน คนไทยกินผลสด และนิยมนำลิ้นจี่มาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหายน้ำ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 276 kJ (66 kcal)
คาร์โบไฮเดรต 16.5 g
ใยอาหาร 1.3 g
ไขมัน 0.4 g
โปรตีน 0.8 g
วิตามินซี (87%) 72 mg

สรรพคุณทั่วไป

เชื่อหรือไม่เห็นว่ารสชาติหวานๆแบบนี้ลิ้นจี่ถือเป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับการรักษารูปร่าง ถ้าหากทานอย่างพอดี ลิ้นจี่ 1 ถ้วย (6 ผล ไม่แกะเมล็ดออก) ให้พลังงาน 125 แคลอรี มีไขมันน้อยกว่า 1 กรัม ลิ้นจี่มีวิตามินบี 2 โพแทสเซียม และมีวิตามินซีสูงมาก กินลิ้นจี่เพียงวันละ 3 ผลก็ได้วิตามินซีครบถ้วนตามความต้องการใน 1 วัน เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยบำรุงหลอดเลือด กระดูกและฟัน ในฤดูกาลที่มีขายให้ทานกันอย่างมากมาย สามารถใช้ลิ้นจี่แทนการทานวิตมินซีสังเคราะห์ได้

สรรพคุณทางยาของส่วนต่างๆ

  • เนื้อในผล กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้กระหายน้ำ แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร
  • นอกจากนี้ประเทศจีนใช้ชาเปลือกลิ้นจี่บรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส แก้บิด แก้ผดผื่น
  • เมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดบวม โดยใช้บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้พอกบริเวณมีอาการ
  • รากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลิ้นจี่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง มีปริมาณพลังงาน ต่ำ และเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติช่วยเผาผลาญสารอาหารในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ

สรรพคุณกับการต้นโรคมะเร็ง

มีงานวิจัยในประเทศจีนพูดถึงการสกัดสารฟลาโวนอยด์ที่มีมากมายในเปลือกและเนื้อลิ้นจี่ ว่าสามารถช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม และช่วยยับยั้งผลต่อเนื่องในการแทรกตัว การยึดเกาะพื้นผิวของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาผลิตเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ป่วยมะเร็ง

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้ที่ยีนบกพร่อง คือ มีอาการ เวียนหัว ตาลาย มีเสียงในหู ปวดเมื่อยเอว ร้อนอุ้งเท้า ปากคอแห้ง ลิ้นแดง มีฝ้าน้อย ไม่ควรควรหลีกเลี่ยงการทานลิ้นจี่ ถ้าหากทานลิ้นจี่มากจะทำให้เกิด “โรคลิ้นจี่” ซึ่งมีอาการหัวใจเต้นเร็ว แขนขาไม่มีแรง มึนหัว หน้ามืดตาลาย เป็นต้น ถ้ามีอาการดังกล่าว ให้เอาเปลือกลิ้นจี่ ต้มกิน อาการก็จะหายไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น